วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2561

การหาค่าความเชื่อมั่น





การพิจารณาว่าเครื่องมือใดมีความเชื่อมั่นสูงต่ำเพียงใด สามารถพิจารณาได้จากค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของความเชื่อมมั่น (reliability coefficient) ซึ่ง วิธีการหาความเชื่อมั่นที่สำคัญและใช้กันแพร่หลายมีอยู่หลายวิธี เช่น
 1. วิธีการสอบซ้ำ (Test – retest method)
เป็นการหาความเชื่อมั่นของเครื่องมือวัดในความหมายของความคงที่แน่นอนของคะแนนที่ได้จากการทดสอบซ้ำกัน 2 ครั้ง โดยใช้เวลาห่างกันพอสมควร (1 – 2 สัปดาห์ ) แล้วนำค่าการวัด 2 ครั้งที่ได้มาหาความสัมพันธ์กัน ค่าที่ได้เรียกว่า ค่าสัมประสิทธิ์ของความคงที่ (coefficient of stability) สูตรที่ใช้คำนวณหาค่าความเชื่อมั่นกรณีนี้ คือ สูตรการหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน

 2. วิธีแบบคู่ขนาน (Paralled form method)
เป็นการหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยนำเครื่องมือสองชุดที่มีเนื้อหาเดียวกัน รูปแบบของข้อคำถาม (style) แบบเดียวกัน ค่าเฉลี่ยและค่าความแปรปรวนเท่ากัน สอบวัดกับกลุ่มบุคคลเดียวกันในเวลาเดียวกัน แล้วนำผลการวัดของทั้งสองกลุ่มมาหาความสัมพันธ์กับค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่ได้ คือ สัมประสิทธิ์ของความเท่าเทียมกัน (coefficient of equivalence) สูตรที่ใช้ในการคำนวณหาค่าความเชื่อมั่นในวิธีนี้ คือ สูตรการหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน
 3. วิธีแบบแบ่งครึ่งฉบับ (split – half method)
เป็นการหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือ โดยนำเครื่องมือชุดเดียวกันไปสอบกับบุคคลกลุ่มเดียวกัน นำผลการวัดที่ได้มาแบ่งครึ่งหรือแบ่งเป็นสองส่วน แล้วหาความสัมพันธ์กันโดยใช้สูตรของเพียร์สัน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่ได้ จะเป็นค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือครึ่งฉบับ ทำการปรับขยายให้เป็นค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเต็มฉบับ โดยใช้สูตรของ สเปียร์แมนบราวน์ (Spearmam – Brown) ซึ่งมีสูตรดังนี้



 
 4. วิธีแบบคูเดอร์ – ริชาดสัน (Kuder – Richardson)
การหาค่าความเชื่อมั่น โดยวิธีของ คูเดอร์ – ริชาดสัน นี้ มีข้อตกลงอยู่ว่า เครื่องมือจะต้องมีคะแนนแบ่งออกเป็นสองประเภท (dichotomous) เช่น แบบถูก – ผิด ใช่ – ไม่ใช่ หรือ แบบเลือกตอบ โดยทำถูกได้ 1 คะแนน ทำผิดได้ 0 คะแนน การตรวจคะแนนนอกเหนือจากนี้ จะใช้วิธีการนี้หาค่าความเชื่อมั่นไม่ได้ และวิธีนี้จะมีสูตรที่ใช้ในการหาค่าความเชื่อมั่นอยู่ 2 สูตร คือ สูตร KR.-20 และ KR.-21 ซึ่งสามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณได้
 5. วิธีหาสัมประสิทธิ์แอลฟา ( a - Coefficient)
         การหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรนี้ ครอนบัค ได้ดัดแปลงมาจากสูตร KR. – 20 เมื่อปี ค. ศ. 1951 เพื่อใช้หาค่าความเชื่อมั่นกับเครื่องมือที่ไม่ได้ตรวจให้คะแนน 1 กับ 0 ได้ เพราะสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟานี้ เครื่องมือไม่จำเป็นจะต้องตรวจให้คะแนนเป็น 1 กับ 0 เสมอไป จะตรวจให้คะแนนลักษณะใดก็ได้ เช่น ทำถูก 5, 6, 10 หรือในลักษณะแบบสอบถามที่ให้คะแนนแต่ละข้อเป็น 5, 4, 3, 2, 1 หรือ 3, 2, 1 ก็ได้ ซึ่งในทางปฏิบัติสามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณได้
อ้างอิง
http://www.ipecp.ac.th/ipecp/cgi-binn/research/program/unit8/content4.htm

https://www.youtube.com/watch?v=gOikbwcqvZE

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น