วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2561

การหาค่าความเชื่อมั่น





การพิจารณาว่าเครื่องมือใดมีความเชื่อมั่นสูงต่ำเพียงใด สามารถพิจารณาได้จากค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของความเชื่อมมั่น (reliability coefficient) ซึ่ง วิธีการหาความเชื่อมั่นที่สำคัญและใช้กันแพร่หลายมีอยู่หลายวิธี เช่น
 1. วิธีการสอบซ้ำ (Test – retest method)
เป็นการหาความเชื่อมั่นของเครื่องมือวัดในความหมายของความคงที่แน่นอนของคะแนนที่ได้จากการทดสอบซ้ำกัน 2 ครั้ง โดยใช้เวลาห่างกันพอสมควร (1 – 2 สัปดาห์ ) แล้วนำค่าการวัด 2 ครั้งที่ได้มาหาความสัมพันธ์กัน ค่าที่ได้เรียกว่า ค่าสัมประสิทธิ์ของความคงที่ (coefficient of stability) สูตรที่ใช้คำนวณหาค่าความเชื่อมั่นกรณีนี้ คือ สูตรการหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน

 2. วิธีแบบคู่ขนาน (Paralled form method)
เป็นการหาค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือโดยนำเครื่องมือสองชุดที่มีเนื้อหาเดียวกัน รูปแบบของข้อคำถาม (style) แบบเดียวกัน ค่าเฉลี่ยและค่าความแปรปรวนเท่ากัน สอบวัดกับกลุ่มบุคคลเดียวกันในเวลาเดียวกัน แล้วนำผลการวัดของทั้งสองกลุ่มมาหาความสัมพันธ์กับค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ที่ได้ คือ สัมประสิทธิ์ของความเท่าเทียมกัน (coefficient of equivalence) สูตรที่ใช้ในการคำนวณหาค่าความเชื่อมั่นในวิธีนี้ คือ สูตรการหาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน

สถิติ


ความหมายของสถิติ

      สถิติ หมายถึง ตัวเลขที่แสดงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น สถิติที่แสดงปริมาณน้ำฝน สถิติอุบัติเหตุ สถิตินักเรียน จำนวนผู้ป่วยเป็นเอดส์ของจังหวัดสุโขทัย
      สถิติ หมายถึง ศาสตร์ หรือหลักการและระเบียบวิธีทางสถิติที่ว่าด้วย
        1 การเก็บรวบรวมข้อมูล
        2 การนำเสนอข้อมูล
        3 การวิเคราะห์ข้อมูล
        4 การตีความหมายข้อมูล

ประเภทของข้อมูล

      1. ข้อมูลปฐมภูมิ เป็นข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากแหล่งที่มาโดยตรง เช่น การสัมภาษณ์ การวัดการจดข้อมูลจากการทดลอง ฯลฯ ซึ่งทำได้ 2 วิธี คือ
        1.1 การสำมะโน คือการเก็บรวบรวมข้อมูลจากทุกๆหน่วยของประชากรหรือเรื่องที่เราต้องการศึกษา
        1.2 การสำรวจจากข้อมูลตัวอย่าง เป็นการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง เช่น การสำรวจความพึ่งพอใจในการทำงานของรัฐบาล การศึกษาพฤติกรรมของเด็กวัยรุ่นของไทย ฯลฯ เราเพียงสุ่มตัวอย่างให้มากพอในการศึกษาเท่านั้นไม่ได้ให้คนไทยทั้งประเทศเป็นคนตอบคำถาม
        หมายเหตุ! การเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ นิยมใช้แบบสัมภาษณ์ การสอบถาม การทดลอง การสังเกตุจากแหล่งข้อมูลโดย ตรง โดยไม่มีผู้ใดรวบรวมไว้ก่อน
      2. ข้อมูลทุติยภูมิ เป็นข้อมูล ที่ถูกรวบรวมไว้เรียบร้อยแล้วตามแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น รายงานการส่งออก รายงานจำนวนนักเรียนของวิทยาลัยอาชีวศึกษาสุโขทัย รายงานอุบัติเหตุบนท้องถนนของปี 2553 เป็นต้น

ลักษณะของข้อมูล

      ลักษณะของข้อมูลแบ่งเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ
        1. ข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นข้อมูลที่ใช้แทนขนาดหรือปริมาณ ซึ่งสามารถออกมาเป็นตัวเลขได้เลย เช่น จำนวนนักเรียนระดับ ปวช.1 - ปวช. 3 มีจำนวน 950 คน ปริมาณการผลิตมันสำปะหลังของปี 2549 คะแนนสูงสุดของการสอบวิชาสถิติของนักศึกษาระดับ ปวส.
        2. ข้อมูลเชิงคุณภาพ เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถวัดออกมาเป็นตัวเลขได้โดยตรง เช่น เพศ สถานภาพการสมรส วุฒิการศึกษา ความคิดเห็น เช่น ชอบมากที่สุด ชอบปานกลาง ไม่ชอบ เป็นต้น

การทำขนมฝอยทอง


อุปกรณ์
        - กระทะทองเหลือง ชามผสม กระชอน เทียนหอม

     วัตถุดิบ
        1. ไข่แดงของไข่เป็ด 3 ฟอง
        2. ไข่แดงของไข่ไก่ 2 ฟอง
        3. กลิ่นดอกมะลิ ½ ช้อนชา
        4. ใบเตย 1 ใบ
        5. น้ำตาลทราย 600 ก.
        6. น้ำเปล่า 400 มล.
        7. เทียนอบ 1 ชิ้น

       * ส่วนผสมสำหรับ 2 - 3 ที่

คอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ (อังกฤษcomputer) หรือในภาษาไทยว่า คณิตกรณ์ เป็นเครื่องจักรแบบสั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมาย
คอมพิวเตอร์ถูกประดิษฐ์ออกมาให้ประกอบไปด้วยความจำรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล อย่างน้อยหนึ่งส่วนที่มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และส่วนควบคุมที่ใช้เปลี่ยนแปลงลำดับของตัวดำเนินการโดยยึดสารสนเทศที่ถูกเก็บไว้เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้จะยอมให้นำเข้าข้อมูลจากแหล่งภายนอก และส่งผลจากการคำนวณตัวดำเนินการออกไป
หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ดำเนินการกับคำสั่งต่าง ๆ ที่คอยสั่งให้อ่าน ประมวล และเก็บข้อมูลไว้ คำสั่งต่าง ๆ ที่มีเงื่อนไขจะแปลงชุดคำสั่งให้ระบบและสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ เป็นฟังก์ชันที่สถานะปัจจุบัน
คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกถูกพัฒนาขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ค.ศ. 1940 – ค.ศ. 1945) แรกเริ่มนั้น คอมพิวเตอร์มีขนาดเท่ากับห้องขนาดใหญ่ ซึ่งใช้พลังงานมากเท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) สมัยใหม่หลายร้อยเครื่องรวมกัน
คอมพิวเตอร์ในสมัยใหม่นี้ผลิตขึ้นโดยใช้วงจรรวม หรือวงจรไอซี (Integrated circuit) โดยมีความจุมากกว่าสมัยก่อนล้านถึงพันล้านเท่า และขนาดของตัวเครื่องใช้พื้นที่เพียงเศษส่วนเล็กน้อยเท่านั้น คอมพิวเตอร์อย่างง่ายมีขนาดเล็กพอที่จะถูกบรรจุไว้ในอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์มือถือนี้ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาดเล็ก และหากจะมีคนพูดถึงคำว่า "คอมพิวเตอร์" มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของยุคสารสนเทศ อย่างไรก็ดี ยังมีคอมพิวเตอร์ชนิดฝังอีกมากมายที่พบได้ตั้งแต่ในเครื่องเล่นเอ็มพีสามจนถึงเครื่องบินบังคับ และของเล่นชนิดต่าง ๆ จนถึงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม